หลักสูตร
หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย บ้านรักเนอร์สเซอรี่สคูล
พัฒนาโดย บ้านรักเนอร์สเซอรี่สคูล ร่วมกับ โครงการวิจัยนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
หากประสงค์นำไปใช้ โปรดขออนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร
หลักสูตรนี้สร้างขึ้นจากการศึกษาวิจัยการจัดการเรียนการสอนในสภาพจริงที่สะท้อนเอกลักษณ์บ้านรักเนอร์สเซอรี่สคูล
รวมทั้งมีกระบวนการศึกาาวิจัยที่ทำให้ได้มาซึ่งหลักสูตรที่ตรงกับการปฏิบัติจริง
ผู้สนใจโปรดดูเป็นแนวทางเพื่อสร้างหลักสูตรที่เหมาะสมกับบริบทสถานศึกษาของตน มิควรคัดลอกเลียนแบบ
ปรัชญาหลักสูตร
สร้างศักยภาพด้วยการพัฒนาสมอง
อัตลักษณ์ของนักเรียน
SMART
S = Social Mind มีจิตสำนึกต่อสังคม
M = Moral มีคุณธรรม จริยธรรมที่ดีงามตามวิถีไทย
A = Active กล้าแสดงออก มีความกระตือรือร้นในการเรียนรู้
R = Reflective การสะท้อนคิดทางปัญญา รู้จักคิดให้เหตุผล
T = Talented รู้และสามารถแสดงออกตามศักยภาพของตน
หลักการของหลักสูตร
บ้านรักเนอร์สเซอรี่สคูลเป็นสถานศึกษาภายใต้การกำกับของสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดชลบุรี กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และจัดเป็นสถานศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 หลักสูตรมุ่งเน้นให้เด็กจะได้รับการอบรมเลี้ยงดู ส่งเสริมพัฒนาการและพัฒนาความสามารถทางด้านวิชาการ ตลอดจนการเรียนรู้อย่างเหมาะสมและสมดุลโดยกำหนดหลักการดังนี้
1. เป็นหลักสูตรที่ส่งเสริมให้เด็กตั้งแต่ 0-3 ปี และ 3-5 ปี ให้มีการพัฒนาการตามวัยทั้ง 4 ด้าน ประกอบด้วย ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ จิตใจ ด้านสังคม และด้านสติปัญญา เพื่อเตรียมความพร้อมของเด็กก่อนเข้าสู่ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2. เป็นหลักสูตรที่ส่งเสริมศักยภาพรายบุคคลของเด็ก
3. เป็นหลักสูตรเพื่อการปลูกฝังคุณธรรม วัฒนธรรมไทยและต่างประเทศ
4. เน้นการอบรมเลี้ยงดูแบบครอบครัวและให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วม
5. จัดสภาพแวดล้อมให้เป็นธรรมชาติ
6. เน้นการจัดกิจกรรมโดยใช้ READ Model
จุดหมายของหลักสูตร
1. พัฒนาเด็กอายุตั้งแต่ 0-5 ปี โดยมุ่งส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคมและสติปัญญาที่เหมาะสมกับวัย
2. จัดการเรียนรู้ตามความสามารถ ความสนใจ และความแตกต่างระหว่างบุคคล
3. เตรียมความพร้อมของเด็กก่อนเข้าสู่ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
โครงสร้างหลักสูตร
หลักสูตรแบ่งเป็น 2 ระดับช่วงอายุ แต่ละระดับประกอบด้วย 4 ประสบการณ์สำคัญและ 4 สาระที่ควรเรียนรู้ ดังนี้
ระดับชั้น |
สาระการเรียนรู้ |
เวลา |
|
ประสบการณ์สำคัญ |
สาระที่ควรเรียนรู้ |
||
0-3 ปี
|
- ด้านร่างกาย - ด้านอารมณ์และจิตใจ - ด้านสังคม - ด้านสติปัญญา |
- เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก - เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่ - ธรรมชาติรอบตัวเด็ก - สิ่งต่าง ๆ รอบตัวเด็ก |
|
รวมเวลาตลอดปี |
240 วัน/ปี |
||
3-5 ปี |
- ด้านร่างกาย - ด้านอารมณ์และจิตใจ - ด้านสังคม - ด้านสติปัญญา |
- เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก - เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่ - ธรรมชาติรอบตัวเด็ก - สิ่งต่าง ๆ รอบตัวเด็ก |
|
รวมเวลาตลอดปี |
240 วัน/ปี |
สาระการเรียนรู้สำหรับเด็ก
1. ประสบการณ์สำคัญ แบ่งออกเป็น 4 ประสบการณ์คือ ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านสังคม และ ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญา
2. สาระที่ควรเรียนรู้ ประกอบด้วย 4 สาระ คือ เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่แวดล้อมเด็ก ธรรมชาติรอบตัว สิ่งต่าง ๆ รอบตัวเด็ก
การจัดประสบการณ์
การจัดประสบการณ์สำหรับเด็กตั้งแต่ 0-5ปี จัดให้เด็กได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรงผ่านการปฏิบัติจริง เกิดความรู้ ทักษะ คุณธรรม จริยธรรม โดยให้พัฒนาทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคมและสติปัญญา ซึ่งสามารถจัดในรูปของกิจกรรมบูรณาการ ดังนี้
1. หลักการจัดประสบการณ์ ดูแล เอาใจใส่เด็กให้มีสุขภาพที่ดีตามวัย และจัดสิ่งแวดล้อมอย่างสะอาดและปลอดภัย มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กด้วยวาจาและท่าทีที่อบอุ่นให้เหมือนลูกหลาน จัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้สอดคล้องกับธรรมชาติ ตามความต้องการ ความสนใจและพัฒนาการของเด็ก จัดสภาพแวดล้อมให้สอดคล้องกับการดำเนินชีวิตจริงที่เอื้อต่อการเรียนรู้ โดยใช้แนวทางกฎกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ว่าด้วยการกำหนดเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขในการรับใบอนุญาตจัดตั้งสถานรับเลี้ยงเด็กและมาตรฐานศูนย์เด็กเล็กแห่งชาติ ประเมินการเจริญเติบโตและพัฒนาการเด็กอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอประสานความร่วมมือระหว่างสถานศึกษา ครอบครัวและชุมชนในการพัฒนาเด็ก
2. แนวการจัดประสบการณ์ แนวทางการจัดประสบการณ์ ประกอบด้วย การจัดประสบการณ์ชีวิตประจำวัน การจัดประสบการณ์ในห้องเรียน การจัดประสบการณ์ทัศนศึกษา และการจัดประสบการณ์เรียนรู้ด้วยตนเอง
แนวทางการจัดกิจกรรมประจำวัน (ลิขสิทธิ์ของบ้านรักเนอร์สเซอรี่สคูล) เนื้อหาในการจัดกิจกรรมประจำวันจะเป็นไปตามหน่วยการเรียนรู้ที่เด็กเรียน ซึ่งกิจกรรมประจำวัน ประกอบด้วย 6 กิจกรรม ดังนี้
เด็กดีมีสุข เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้เด็กมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ มีคุณธรรม มีมารยาท และมีอุปนิสัยที่ดีงาม โดยการทำกิจกรรมกัลยาณมิตร การทำโยคะสมาธิ ภาวนากับบทเพลง เพื่อปรับคลื่นสมองต่ำจิตใต้สำนึกเปิด การสนทนา การสาธิตและการแนะนำการปฏิบัติตนที่เหมาะสมในสถานการณ์ต่างๆ รวมไปถึงการทำกิจกรรมวันสำคัญศาสนาและประเพณี
สนุกกับของเล่น เป็นกิจกรรมการเล่น ทั้งการเล่นรายบุคคลและการเล่นร่วมกับผู้อื่น เพื่อพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก การประสานสัมพันธ์มือกับตา ความคิดสร้างสรรค์ จินตนาการ คุณธรรมจริยธรรม โดยการให้อิสระในการเล่นตามมุมต่างๆ เช่น มุมหนังสือ มุมไม้บล็อก มุมบ้าน รวมไปถึงการเล่นของเล่นส่งเสริมพัฒนาการ เล่นเกมการศึกษา เพื่อพัฒนาความคิดรวบยอดเกี่ยวกับการเปรียบเทียบ การจำแนก การจัดหมวดหมู่ การเรียงลำดับเหตุการณ์ การคิดแก้ปัญหาตามลำดับความยากง่าย เพื่อให้เด็กประสบความสำเร็จในขณะปฏิบัติกิจกรรม มุ่งเน้นการสร้างความเชื่อมั่นในตนเอง การมีความรู้สึกที่ดีต่อตนเอง การมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่นและการมีความรับผิดชอบ
ร้องเต้นออกกำลัง เป็นกิจกรรมที่ผสมผสานระหว่างกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะและกิจกรรมกลางแจ้ง เพื่อพัฒนากล้ามเนื้อมัดใหญ่และกล้ามเนื้อมัดเล็ก ส่งเสริมการเรียนรู้เกี่ยวกับจังหวะและสามารถควบคุมการเคลื่อนไหวของตนเองได้โดยการเคลื่อนไหวแบบต่างๆ เช่น การเคลื่อนไหวแบบพื้นฐาน การเคลื่อนไหวตามคำสั่ง เคลื่อนไหวประกอบอุปกรณ์ เคลื่อนไหวเป็นกลุ่มและเป็นรายบุคคล โดยใช้เสียง เพลง คำคล้องจอง หรือกิจกรรมเคาะจังหวะเป็นเครื่องกำกับจังหวะ
เพิ่มพลังปัญญา เป็นกิจกรรมที่มุ่งเน้นให้เด็กได้พัฒนาทักษะการเรียนรู้ ฝึกทักษะพื้นฐานทางวิชาการ เช่น ภาษาและคณิตศาสตร์ ฯลฯ ฝึกการทำงานและอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่ม ทั้งกลุ่มย่อยและกลุ่มใหญ่ ฝึกให้เด็กได้มีโอกาสฟัง พูด สังเกต คิดแก้ปัญหา ใช้เหตุผลและฝึกปฏิบัติ เพื่อให้เกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับเรื่องที่เรียนในหน่วยการเรียนรู้ โดยจัดกิจกรรมด้วยวิธีต่างๆ เช่น สนทนา อภิปราย สาธิต ทดลอง เล่นบทบาทสมมติ ร้องเพลง ท่องคำ คล้องจอง ศึกษานอกสถานที่ เชิญวิทยากรมาให้ความรู้ และเน้นให้เด็กได้เรียนรู้จากสื่อและแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลาย
หรรษาสร้างสรรค์ เป็นกิจกรรมที่ช่วยเด็กให้แสดงออกทางอารมณ์ ความรู้สึก ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และจินตนาการโดยใช้ศิลปะ รวมไปถึงการถ่ายทอดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับเรื่องที่เรียนออกเป็นผลงานศิลปะที่หลากหลาย เช่น การเขียนภาพ การปั้น การฉีก- ปะ การตัดปะ การพิมพ์ภาพ การร้อย การประดิษฐ์ การเล่นกับสี หรือวิธีการอื่นที่เด็กได้คิดสร้างสรรค์และเหมาะกับพัฒนาการ เพื่อให้เด็กเกิดสุนทรียภาพ รู้จักชื่นชมและสร้างสรรค์สิ่งสวยงาม และรู้จักแสดงความคิดเห็นต่อผลงานศิลปะ
สานฝันกับนิทาน เป็นกิจกรรมส่งเสริมทักษะภาษาและนิสัยรักการอ่าน เพื่อพัฒนาเด็กให้มีทักษะภาษาเริ่มแรกที่ดี ชื่นชมและสนุกกับการอ่านหนังสือ โดยการทำกิจกรรมการอ่านวิธีต่างๆ เช่นการอ่านให้ฟัง การอ่านโดยมีส่วนร่วม การอ่านอิสระ ซึ่งหนังสือที่นำมาจัดกิจกรรมนี้จะมีความสอดคล้องกับเรื่องที่เด็กเรียนในแต่ละหน่วย รวมไปถึงการใช้กระบวนการ READ Model ที่มีขั้นตอนการจัดกิจกรรม 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นการอ่าน ( R-Reading) ขั้นขยายความเข้าใจ (E-Expanding) ขั้นกิจกรรมต่อเนื่อง (A-Activity) และขั้นนำเสนอ (D-Display) ซึ่งหนังสือที่นำมาใช้ในการจัดกิจกรรมนั้นมีความสอดคล้องกับเรื่องที่เด็กเรียน หรือ เป็นเรื่องที่เด็กสนใจ
กิจกรรมเสริมศักยภาพ กิจกรรมเสริมศักยภาพของเด็กให้เด็กเลือกทำกิจกรรมเหล่านี้
1. กิจกรรมเทควันโด บัลเล่ต์ เพื่อพัฒนากล้ามเนื้อแขน และขา รวมทั้งร่างกายให้แข็งแรง ฝึกการทรงตัว และการเคลื่อนไหวอย่างถูกต้อง สร้างความเพลิดเพลิน และผ่อนคลายกล้าแสดงออก มีความเชื่อมั่นในตนเอง
2. กิจกรรมดนตรีไทยและดนตรีสากล เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางดนตรี
3. กิจกรรมภาษาอังกฤษ ภาษาจีน ภาษาญี่ปุ่น ส่งเสริมทักษะด้านการพูด ฟัง อ่าน เขียน สร้าง ความคุ้นเคยกับภาษาต่างประเทศ เกิดความรู้สึกมั่นใจในตนเอง กล้าพูด กล้าแสดงออก และทักษะการดำรงชีวิต เพื่อพัฒนาการด้านสังคม ดูแลตนเอง สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างเหมาะสม
การประเมินผลผู้เรียน
การประเมินผลนักเรียนแบ่ง 2 ระยะ คือ 1. การประเมินระหว่างการสอน 2. การประเมินปลายภาค มีรายละเอียดดังนี้
1. การประเมินระหว่างการสอน เป็นการประเมินเพื่อมุ่งตรวจสอบพัฒนาการของนักเรียนว่าบรรลุ ตามหลักสูตร จุดประสงค์การเรียนรู้ แผนการจัดประสบการณ์นำไปสู่การปรับปรุงแก้ไข ข้อบกพร่องของผู้เรียน และส่งเสริมผู้เรียนให้มีความรู้ความสามารถและเกิดพัฒนาการสูงสุดตามศักยภาพ อาจจะมีลักษณะการประเมิน ดังนี้
ผู้ประเมิน |
วิธีการ |
เครื่องมือ |
ครูสนทนาเป็นรายบุคคลและกลุ่มเกี่ยวกับเนื้อหาตามหน่วย |
สังเกตพฤติกรรม - กิจกรรมต่างๆ และกิจวัตรประจำวัน ทั้งเป็นกลุ่มและรายบุคคล |
แบบสังเกตพฤติกรรม
|
การสนทนา - การสนทนากับเด็กรายบุคคลเกี่ยวกับชีวิตประจำวัน |
แบบจดบันทึกการสนทนา
|
ผู้ประเมิน |
วิธีการ |
เครื่องมือ |
|
การเก็บรวมรวบผลงาน - ผลงานศิลปะ ภาพวาด งานประดิษฐ์ของเด็กรายบุคคล |
แฟ้มสะสมผลงานของเด็ก
|
การทดสอบความรู้ และทดสอบการปฏิบัติ - แบบทดสอบที่เป็นรูปภาพ สิ่งของรอบตัวเด็ก การปฏิบัติจริง |
แบบทดสอบ |
|
การประเมินตนเอง - ให้เด็กประเมินผลงานตนเอง |
แบบประเมินผลงาน
|
|
ประเมินพัฒนาการ |
สมุดบันทึกพัฒนาการเด็ก
|
|
ผู้ปกครอง |
บันทึก พฤติกรรมเด็กจากบ้าน - สังเกตลักษณะ พฤติกรรมที่แสดงออกเมื่ออยู่กับครอบครัว - บันทึกการอ่านหนังสือ |
บันทึกสมุดการบ้าน บันทึกการอ่านนิทาน สมุดบันทึกของหนู สมุดบันทึกพัฒนาการเด็ก |
2. การประเมินปลายภาค เป็นการประเมินผลเพื่อตรวจสอบผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนในการเรียนรู้ตามหลักสูตรโดยการประเมินเด็กในรูปแบบของการใช้แฟ้มผลงาน โดยครูประจำชั้นเป็นผู้จัดเก็บผลงานการเรียนรู้ของเด็กรวบรวมไว้ในแฟ้มผลงานและนำแฟ้มผลงานมาจัดแสดง ในรูปแบบงานนิทรรศการ หรืออาจมีการทดสอบเน้นการใช้วิธีการ และเครื่องมือที่หลากหลาย